วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

โปรไบโอติกกับการดูแลทารกในครรภ์ให้เกิดมาพร้อมระบบ "ภูมิคุ้มกัน" ที่สมบูรณ์





           เราพบว่าทุกวันนี้ปัญหาทารกที่เกิดมาพร้อมกับมีภาวะ "ภูมิแพ้" นั้นนับวันจะยิ่งพบบ่อยขึ้น เช่น แพ้โปรตีนในนม แพ้อากาศ แพ้ฝุ่น แพ้เกสรดอกไม้ แพ้โปรตีนกลูเต็นในข้าวสาลี เป็นต้น สาเหตุที่สำคัญก็คือ ในขณะที่มารดาตั้งครรภ์อยู่นั้น มารดาไม่มีภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะ ภูมิคุ้มกันในระบบ "ไมโครไบโอต้า" เพียงพอที่จะส่งต่อไปยังทารกที่อยู่ในครรภ์ ซึ่งในขณะที่ทารกยังอยู่ในครรภ์ ระบบภูมิคุ้มกัน "Auto Immune System" หรือ "ระบบเม็ดเลือดขาว" ของทารกนั้นยังไม่ทำงานนะคะ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับภูมิคุ้มกันจากมารดา การที่มารดาไม่มีภูมิคุ้มกันไมโครไบโอต้าส่งไปยังทารกนั้นสาเหตุก็สืบเนื่องมาจากการได้รับยา "ปฏิชีวนะ" ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการปนเปื้อนในอาหารที่รับประทานเข้าไปขณะตั้งตั้งครรภ์ มีผลทำให้ระบบไมโครไบโอต้าของมารดาพร่องลงไปด้วยยังไงล่ะคะ

          ฉนั้นวันนี้จึงมีเรื่องราวดีๆที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้หญิงมีครรภ์หรือผู้ที่วางแผนจะมีบุตรในอนาคต มาแนะนำถึงวิธีการปฏิบัติตัวอย่างไรให้บุตรที่คลอดออกมานั้นแข็งแรง รวมถึงตัวมารดาเองก็แข็งแรงด้วยเช่นกัน เราขอแบ่งช่วงเวลาของการดูแลออกเป็นช่วงอายุครรภ์ดังนี้นะคะ

        1. เมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ได้ 1 เดือนเริ่มต้นเดือนที่ 2 เป็นต้นไปจนถึงคลอดเลยนะคะ มารดาจะต้องรับประทานวิตามิน B Complex ทุกวันวันละ 1 เม็ดตอนเช้า วิตามิน B จะช่วยบำรุงระบบเลือดของมารดาและทารก วิตามินกำหนดเลือด เลือดกำหนดชีวิตค่ะ

        2. เมื่ออายุครรภ์ครบ 3 เดือน เริ่มต้นเดือนที่ 4 เป็นต้นไปจนถึงคลอดเหมือนกันนะคะ  มารดาจะต้องได้รับกลุ่มจุลชีพ"โปรไบโอติก" ในกลุ่มที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกันในระบบ ไมโครไบโอต้า ทุกวันในตอนเช้าไม่เกินวันละ 1,000 มิลิกรัม เพื่อมาดารจะได้ส่งต่อระบบภูมิคุ้มกันชนิดนี้ไปยังทารกในครรภ์ เนื่องจากทารกยังไม่มีระบบภูมิคุ้มกันของตัวเอง ทางเดียวที่จะได้รับคือจะต้องเป็นระบบไม่โครไบโอต้าจากมารดาเท่านั้นค่ะ

        3. เมื่ออายุครรภ์ครบ 6 เดือน เริ่มต้นเดือนที่ 7 เป็นต้นไปจนถึงคลอดอีกเช่นกัน ระยะนี้เป็นระยะที่ทารกเริ่มมีการเสริมสร้างกระดูกและมีความต้องการใช้แคลเซียมเป็นจำนวนมาก และแหล่งแคลเซี่ยมที่ดีที่สุดคือ ในผักใบเขียว ดังนั้นควรต้องรับประทานผักสด ผลไม้สดเยอะๆ รวมถึงการทำน้ำแพลนท์สเตมเซลล์ดื่มทุกวัน  เพื่อเป็นวัตถุดิบให้กับทารก รวมถึงป้องกันภาวะกระดูกพรุนในมารดาด้วยยังไงล่ะคะ

        นอกจากข้อแนะนำที่ว่ามาแล้ว การรับประทานอาหาร พักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงการมีจิตใจที่ผ่องใสอยู่เสมอก็จะมีผลโดยตรงต่อทารกในครรภ์ด้วยเช่นกันนะคะ หากปฏิบัติตนตามคำแนะนำเชื่อมั่นได้เลยว่าทารกที่คลอดออกมาจะแข็งแรง ฉลาด และเท่าที่เก็บข้อมูลสถิติมาพบว่าน้ำหนักตัวของทารกตอนคลอดจะอยู่ที่ 3,000 กรัมขึ้นไปค่ะ มาดูแลคนที่เรารักอย่างถูกวิธีกันนะคะ
   
       


     
       
www.facebook.com/maximumlifeprobiotic

www.maxlifenetwork.com

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เรื่องจริงของเบาหวานที่หมอไม่ได้บอก




           
                           ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ และศูนย์เบาหวานศิริราช ในปี 2556 พบว่าประเทศไทยมีผู้ผู้ป่วยเบาหวานถึง 3.5 ล้านคน มูลค่าการรักษาถึง 47,000 ล้านบาท และเป็นที่ทราบกันดีว่าในผู้ป่วยเบาหวานนั้นมีโอกาสที่จะพัฒนาต่อไปเป็นโรคไตเนื่องจากการรับประทานยาต่อเนื่องนั่นเอง วันนี้เรามาทำความเข้าใจถึงกลไกของการเกิดโรคเบาหวานกันเถอะ เมื่อท่านเข้าใจก็สามารถป้องกันได้ง่ายขึ้น


         เมื่อพูดถึงโรค “เบาหวาน” เรากำลังหมายถึงการที่ร่างกายในส่วนของตับอ่อนนั้นทำงานไม่สมดุล ในแง่ของฮอร์โมน 2 ตัวด้วยกัน ส่วนปลายของตับอ่อนตอนบนนั้นเป็นที่ผลิตฮอร์โมน “อินซูลิน” ส่วนตอนล่างของตับอ่อนนั้นจะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน “กลูคากอน” ซึ่งฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้ต้องทำงานสมดุลเสมอ
            
           โดยที่ฮอร์โมน กลูคากอน จะเป็นตัวสั่งให้ “ตับใหญ่” ทำการแปลงสารอาหารที่สะสมไว้ในรูปของ “ไกลโคเจน” ให้เปลี่ยนเป็น น้ำตาล “กลูโคส” เพื่อเข้าสู่กระแสเลือด การที่ตับอ่อนจะมีคำสั่งผลิต กลูคากอน มากน้อยเท่าไรในแต่ละวันนั้นร่างกายจะมีข้อมูลอยู่ เช่น ผู้ที่ทำงานในห้องแอร์ มีความต้องการใช้กลูโคสน้อย ก็ผลิตน้อย ผู้ที่ทำงานกลางแจ้งหรือนักกีฬามีความต้องการใช้กลูโคสมาก ก็จะผลิตมากนั่นเอง การผลิตจะเป็นไปตามกระบวนการของร่างกายที่ใช้งาน เมื่อผลิตมาเท่าไรข้อมูลจะถูกส่งไปยังตับอ่อนตอนบนที่ทำหน้าที่ผลิต อินซูลิน  ให้พอเหมาะกับกลูโคสที่ผลิตได้เช่น ถ้าผลิตกลูโคส 200 หน่วย ก็จะผลิตอินซูลิน 200 หน่วย เพื่อให้สมดุลกัน โดยที่ อินซูลิน นั้นมีหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสไปให้ร่างกายใช้ และเป็นตัวพาน้ำตาลที่เหลือใช้ไปส่งให้กับ “ไต” เพื่อกรองน้ำตาลไปทิ้ง ขณะเดียวกันไตก็จะส่งน้ำตาลส่วนหนึ่งกลับไปสะสมไว้ที่ตับตามเดิม  ร่างกายจะมีกระบวนการเช่นนี้ เพื่อไม่ให้มีน้ำตาลคงเหลือในกระแสเลือดมากเกินไป เพราะน้ำตาลที่เหลือในกระแสเลือดนั้นจะทำให้เลือดมีความหนืด ทำให้เป็นโรคหัวใจ เบาหวาน ไต ในที่สุด
            ด้วยเหตุนี้เมื่อไรก็ตามที่สมดุลของ ฮอร์โมนทั้ง 2 ตัวนี้ไม่สมดุลกันในกรณีของการเกิดโรคเบาหวานนั้นเนื่องมาจากการที่ ตับอ่อนผลิต อินซูลิน น้อยกว่า กลูคากอน จะส่งผลให้น้ำตาลกลูโคสที่ผลิตได้นั้นเหลือในกระเลือดจนเป็นเหตุแห่งโรคนั่นเอง

เรามักได้ยินว่าโรคเบาหวานนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
ชนิดที่ 1 หรือ Type A นั้นเกิดจากการที่ร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอจึงทำให้มีน้ำตาลในกระแสเลือดสูง ซึ่งได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้
ชนิดที่ 2 หรือ Type B นั้นทางการแพทย์เรียกเบาหวานชนิดนี้ว่าเป็นภาวะที่ร่างกาย “ดื้ออินซูลิน” หมายถึงอินซูลินที่ผลิตได้นั้นไม่สามารถทำหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสได้นั่นเอง เนื่องจากโครงสร้างทางโมเลกุลของอินซูลินนั้นไม่สมบูรณ์ จึงไม่สามารถที่จะนำพาน้ำตาลกลูโคสได้ ส่งผลให้น้ำตาลในกระแสเลือดสูงด้วยเช่นกัน


       

             อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าโรคเบาหวานทั้งสองชนิดนั้นมีสาเหตุมาจากการทำงานที่ผิดปกติของตับอ่อนทั้งสิ้น ดังนั้นแนวทางในการฟื้นฟูโรคนั้นจึงมุงเน้นไปที่ตับอ่อนเป็นเป็นหลัก การใช้จุลชีพโดยเฉพาะใน ยีสต์ บางกลุ่มร่วมด้วยแร่ธาตุ “โครเมียม” ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ตับอ่อนใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิด นั้นจะไปช่วยให้ภาวะสมดุลของตับอ่อนค่อยๆคืนมา ส่วนในรายที่เป็นมานาน หรือมีภาวะดื้ออินซูลินนั้น การใช้จุลชีพร่วมกับ “สมุนไพร”บางชนิดกับโครเมียม ก็ให้ผลได้อย่างน่าเป็นที่พอใจ

www.maxlifenetwork.com
https://www.facebook.com/maximumlifeprobiotic

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เก๊าต์แก้ง่ายๆด้วยมังสวิรัติ

   ความเข้าใจ"ผิด"ที่ว่าเวลาปวดข้อหรือมีข้ออักเสบชนิดใดแล้วจะต้องอด "ของแสลง" เช่น หน่อไม้ สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ เป็นต้น ทั้งๆ ที่โรคปวดข้อทั่วไปหรือโรคข้ออักเสบชนิดอื่นๆ (นอกจากโรคเก๊าต์) ทั้งหมด นั้นยังมีความเข้าใจผิดกันอยู่พอสมควร

     วันนี้เรามาทำความเข้าใจถึงที่มาที่ไปของการเกิดโรคเกาต์กันก่อนนะคะ อาการของโรคเกาต์นั้นเกิดจากจากการที่ร่างกายไม่สามารถจัดการกับภาวะ "ยูริก" ได้ เนื่องมาจากไม่สามารถกำจัด"ยูเรีย" ซึ่งเกิดจากการสันดาปโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะจากสัตว์ปีกสัตว์สี่เท้า ซึ่งในกระบวนการสันดาปโปรตีนเหล่านี้จะเกิด "ยูเรียไนโตรเจน" ขึ้น เมื่อร่างกายกำจัดไม่หมด ก็จะเกิดการสะสมของยูเรีย ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กำจัดยูเรียไนโตรเจนไม่หมดคือการ "ดื่มน้ำน้อย" นั่นเอง เมื่อเกิดการสะสมมากขึ้นๆร่างกายก็ต้องหาที่เก็บ ที่แรกที่เอาไปเก็บก็คือบริเวณข้อเข้ายังไงล่ะคะ เมื่อเก็บมากขึ้นๆก็จะกลายเป็นผลึกเรียกว่า "ผลึกยูเรต" หรือ "ยูเรตคริสตัล" ทีนี้เมื่อเกิดปัจจัยกระตุ้นเช่น อากาศเย็น ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหดตัว ก็จะเกิดอาการปวด ซึ่งอันตรายมากในผู้สูงอายุที่อยู่ตัวคนเดียว เพราะจะปวดขนาดถึงกับเดินไม่ได้กันเลยทีเดียวค่ะ หรือเมื่อมีการสะสมของผลึกยูเรตมากๆ ทำให้ผลึกเหล่านี้ไปบาดกับเนื้อเยื่อ เกิดภาวะ "อักเสบ" ร่างกายก็จะส่งน้ำเข้าไปหล่อเลี้ยงแต่เนื่องจากข้อเข้านั้นมีลักษณะพิเศษคือเป็น "ประตูกล" น้ำที่เข้าไปจะขังอยู่ในข้อเข้าและออกมาไม่ได้ จึงเป็นสาเหตุของการบวมเป่งที่ข้อเข่า เวลาที่ผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวเมื่อไปพบแพทย์ แพทย์ก็จะเจาะเอาน้ำที่ขังอยู่ในข้อเข้านั้นออกผู้ป่วยก็หายปวด แต่อย่างไรก็ตามผลึกยูเรตนั้นยังไม่ได้ถูกกำจัดออกไปแต่อย่างใด และอาการก็จะทวีควมรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ 
     
       การรักษาโรคเกาต์นั้นทำได้ไม่ยากเลยค่ะ เพียงแต่ต้องอาศัยเวลาและการหักห้ามใจ งดทานเนื้อสัตว์ปีกสัตว์สี่เท้าเป็นเวลาอย่างน้อย 180 วันหรือ 6 เดือน แล้วหันมารับประทานมังสวิรัติแทน และควรทำควบคู่ไปกับการรับประทานผลิตภัณฑ์สมุนไพรบางชนิด เพื่อหลอกให้ร่างกายนั้นเข้าใจว่าอยู่ในภาวะ "ขาดแคลนยูเรีย" ร่างกายก็จะค่อยๆดึงเอาผลึกยูเรตมาเปลี่ยนเป็นยูเรียเพื่อใช้งาน ก็จะทำให้อาการของโรคเกาต์นั้นหายไปในที่สุดค่ะ

      ดังนั้นถ้าถามว่าอะไรเป็นของ "แสลง" สำหรับโรคนี้ ก็เห็นจะมีเพียงแค่โปรตีนจาก "สัตว์ปีกสัตว์สี่เท้า" เท่านั้นแหละค่ะ ที่สำคัญหมั่นดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 แก้วหรือ 2 ลิตรด้วยนะคะ แค่นี้โรคเก๊าต์ ก็เอาอยู่ค่ะ