ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา
จำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา
และแพทย์ภูมิคุ้มกันวิทยาพยายามกันอย่างหนักที่จะเข้าใจมัน
ปรากฎการณ์สำคัญอย่างหนึ่งคือ มีพื้นที่ในโลกที่มีคนป่วยเป็นโรคพวกนี้มากขึ้น
ในขณะบางพื้นที่มีจำนวนน้อย และตัวเลขดังกล่าวไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยตลอดเวลาที่ผ่านมา
ข้อมูลสถิติได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันระหว่างโรคทั้งสองกับการใช้ยาปฏิชีวนะ
แต่แล้วมันไปเกี่ยวข้องได้อย่างไรกันล่ะ
การทดลองอันแปลกประหลาด
ในปี 2002 ด๊อกเตอร์ไมริ โนเวอร์
หนึ่งในนักวิจัยประจำห้องทดลอง ที่ศูนย์การแพทย์มิชิแกนทำการวิจัยเกี่ยวกับยีสต์
แคนดิด้า อัลบิคันส์ ซึ่งมีการค้นพบก่อนหน้านี้โดยนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยว่า
ยีสต์ตัวนี้สามารถหลั่งสารเคมีที่ทำให้เกิดการสื่อสารกับระบบภูมิคุ้กันของเราได้
ตามปกติยีสต์พวกนี้จะมีจำนวนน้อยในร่างกายมนุษย์
แต่เนื่องจากทนทานต่อยาปฏิชีวนะได้ จึงทำให้มันสามารถเพิ่มจำนวนมากขึ้น
ในขณะที่จุลินทรีย์พวกอื่นถูกทำลายไปด้วยยาปฏิชีวนะที่รับประทานเข้าไปเพื่อบำบัดโรค
ข้อมูลทางสถิติแสดงความเกี่ยวข้องระหว่างการได้รับยาปฏิชีวนะกับการเกิดโรคหอบหืดภูมิแพ้นั้น
กระตุ้นให้ด๊อกเตอร์แกรี่ บี. ฮัฟฟ์นาเกิล(ผู้วิจัยเจ้าของหนังสือ Probiotics
Revolution) เกิดความอยากรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับหนูที่ได้รับยาปฏิชีวนะ
พวกหนูควรจะมีจำนวนยีสต์เพิ่มมากขึ้น และยีสต์นั้นก็ควรจะหลั่งสารเคมีออกมามากขึ้นด้วย
ในขณะที่จำนวนของ โปรไบโอติก(คลิกเพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม)น่าจะต้องลดลง
สิ่งเหล่านี้อาจนำไปสู่การค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างยาปฏิชีวนะและโรคภูมิแพ้
นักวิจัยจำนวนมากหาทางทำให้หนูเกิดอาการแพ้ในระบบทางเดินหายใจได้แล้ว
แต่วิธีเหล่านี้ต้องปรับยีนหรือฉีดสารเข้าไปในร่างกายของหนูเพื่อกระตุ้นให้เกิดอาการ
ยังไม่มีมีใครสามารถทำให้หนูเกิดอาการภูมิแพ้อย่างที่มนุษย์เป็นได้ กล่าวคือ
แบบที่เกิดอาการเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมหนึ่งแล้วหายใจเอาสารหรือสิ่งที่แพ้เข้าไป
ผู้ร่วมงานของด๊อกเตอร์แกรี่ บี. ฮัฟฟ์นาเกิลบางคนรวมถึง ดร.ไมริ
โนเวอร์
ต่างก็เชื่อว่าหนูมีจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ที่ช่วยไม่ให้เกิดอาการภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจ
จึงได้ออกแบบการทดลองโดยแบ่งหนูเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่
1 ได้รับการฉีดยาปฏิชีวนะเข้าไปเพื่อหวังจะทำลายจุลินทรีย์ในลำไส้ของหนูหรืออย่างน้อยก็ทำให้จุลินทรีย์พวกนั้นมีจำนวนลดลง
กลุ่มที่
2 ไม่ได้รับยา
หลังจากหนูกลุ่มแรกได้รับยาเป็นเวลาครบ
5 วัน
หนูทั้งหมดก็ถูกนำไปไว้ในที่ซึ่งมีสิ่งก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ
หลังจากนั้นก็ปล่อยให้หนูหายใจเอาสิ่งเหล่านั้นเข้าไปเป็นเวลา 2 สัปดาห์
ผลลัพธ์ที่ได้น่าประหลาดใจอย่างยิ่ง
เพราะพวกหนูที่ไม่ได้รับยาปฏิชีวนะไม่มีอาการใด ในขณะที่หนูซึ่งได้รับยาปฏิชีวนะกลับแสดงอาการของภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจ
การทดลองของเรายืนยันว่าจุลชีพในลำไส้มีผลกระทบต่อกากรตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
หลังจากมีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแล้ว
การค้นพบที่น่าตื่นเต้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร “การติดเชื้อและภูมิคุ้มกัน” (Infection
and Immunity) ซึ่งเป็นวารสารเฉพาะทางด้านการวิจัยโรคติดเชื้อของสมาคมจุลชีววิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา
(American Society for Microbiology)
ความสัมพันธ์ของโปรไบโอติก
หลักการด้านภูมิคุ้มกันในปัจจุบันได้เปิดทางให้กับการปฏิวัติของโปรไบโอติก
การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเปรียบได้กับการทำงานของคันเร่งและเบรกในรถยนต์
เมื่อกดคันเร่ง ระบบภูมิคุ้มกันจะตอบสนองทำให้เกิดการบวมอักเสบเพื่อกันและทำลายเป้าหมาย
และอาการนี้จะเกิดต่อๆไปจนกระทั่งมีการเหยียบเบรกเพื่อยุติ
มิฉะนั้นแล้วปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันจะดำเนินต่อไปจนก่อความเสียหายเจ็บป่วยเป็นโรคแทนที่จะป้องกันมัน
เป็นที่รู้แน่ชัดจากการทดลองของเราแล้วว่า
การทำลายโปรไบโอติกในลำไส้จะไปกระตุ้นคันเร่งของระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้น
การมีมันอยู่ก็เท่ากับการติดเบรกให้กับระบบภูมิคุ้มกันไม่ให้ทำงานว่องไวเกินจำเป็น
Credit: The Probiotics Revolution
Gary B. Huffnagle, Ph.D.
Sarah Wernick เขียน
บุญส่ง รักวิริยะ แปล
www.maxlifenetwork.com
www.facebook.com/maximumlifeprobiotic
เรียนรู้ระบบภูมิคุ้มกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น